อาหารประจำถิ่น ถ้าไม่ได้กินเรียกว่าไปไม่ถึง

อาหารประจำถิ่น ถ้าไม่ได้กินเรียกว่าไปไม่ถึง

ถ้างานที่ทำอยู่เหนื่อยนักก็พักซะหน่อย เก็บเสื้อผ้าใส่กระเป๋า ออกไปเปิดหูเปิดตาดูโลกกว้าง ชาจแบตเติมเต็มพลังงานให้เต็มที่ เปลี่ยนที่นอน เปลี่ยนบบรยากาศ พบเจอวัฒนธรรมใหม่ๆ ทานอาหารอร่อยๆ


ถ้าพูดถึงเรื่องของอาหาร แต่ละบ้านแต่ละเมืองก็จะมีอาหารประจำถิ่นที่เป็นเหมือนการแสดงออกทางวัฒนธรรมอีกทางหนึ่ง ที่เรียกได้ว่าถ้าใครไม่ได้ลองรับประทานอาหารประจำถิ่นของประเทศที่ไปเยือน ก็เหมือนกับว่าไปเที่ยวแต่ยังไปไม่ถึง เพราะยังไม่ได้สัมผัสกับวัฒนธรรมของบ้านเมืองนั้นๆอย่างแท้จริงนั่นเอง

วันนี้แอดจะพาไปรู้จักกับอาหารประจำถิ่น หรืออาหารที่นิยมทานในแต่ละประเทศ เพื่อที่ว่าใครไปเที่ยวประเทศไหนจะได้ไม่พลาดที่จะไปลิ้มลองความอร่อยและเข้าถึงวัฒนธรรมของประเทศนั้นๆกัน ตามมาเลยจ้า


1.) ประเทศไทย – ต้มยำกุ้ง (Tom Yum Kung)



ด้วยรสชาติ 3 รสที่กลมกล่อมตั้งแต่เผ็ด เปรี้ยว และเค็มนิด ๆ รวมกับกุ้งแม่น้ำและเครื่องแกงที่มาครบทั้ง ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด ยิ่งเพิ่มความน่าสนใจในหน้าตาและความเผ็ดร้อนได้เป็นอย่างดี ซึ่งเมนูนี้มีให้เลือกทั้งน้ำใสๆ ซดคล่องคอและน้ำข้นให้ได้ลิ้มลอง



2.) กัมพูชา – อาม็อก (Amok)



เป็นอาหารที่ทำมาจากเนื้อปลาสดๆที่นำมาลวกกับเครื่องแกงและกะทิแล้วจึงนำไปนึ่งให้สุกอีกรอบ หน้าตาจะคล้าย ๆ กับห่อหมกของไทย ส่วนปลาที่ใช้ก็จะเป็นปลาที่หาได้ง่ายตามแม่น้ำลำคลองค่ะ 

 

3.) บรูไน - อัมบูยัต (Ambuyat)



อัมบูยัต ทำมาจากแป้งสาคู มีลักษณะคล้าย ๆ ข้าวต้มหรือโจ๊ก ตัวแป้งเองไม่มีรสชาติอะไรจึงต้องทานคู่กับซอสผลไม้ รวมถึงเครื่องเคียงอื่น ๆ เช่น ผักสด เนื้อย่าง เนื้อทอด ปลาย่าง

 

4.) พม่า - หล่าเพ็ด (Lahpet)



เมนูนี้เหมาะกับคนรักสุขภาพ ส่วนผสมและหน้าตาคล้ายเมี่ยงคำของไทยเรา ไฮไลต์ของจานนี้คือ ใบชา ซึ่งนำมาหมัก ทานคู่กับกระเทียมเจียว ถั่ว กุ้งแห้ง งา มะพร้าวคั่ว ถือเป็นเมนูพิเศษของประเทศเมียนมาเลย 

 

5.) ฟิลิปปินส์ - อโดโบ้ (Adobo)



อโดโบ้ ทำจากเนื้อหมูหรือเนื้อไก่ตามชอบ จะหมักและปรุงรสด้วยน้ำส้มสายชู ชีอิ๊วขาว ใบกระวาน กระเทียม พริกไทยดำ จากนั้นนำไปอบหรือทอด ทานกับข้าวสวยร้อน ๆ รับรองว่าจะติดใจไปอีกนาน 

 

6.) สิงคโปร์ - ลักซา (Laksa)



มีลักษณะคล้ายก๋วยเตี๋ยวต้มยำเลยค่ะ จะมี 2 น้ำซุปให้เลือกคือ แบบไม่ใส่กะทิ และแบบใส่กะทิ ซึ่งแบบใส่กะทิจะนิยมมากกว่า เพราะรสชาติจะเข้มข้นอร่อยล้ำ

 

7.) อินโดนีเซีย - กาโด กาโด (Gado Gado)



เมนูนี้เน้นผักและธัญพืชนานาชนิด ตั้งแต่ถั่ว มันฝรั่ง แครอท และยังมีเต้าหู้และไข่ต้มสุกร่วมด้วย ทานคู่กับซอสถั่วที่มีลักษณะคล้าย ๆ กับซอสหมูสะเต๊ะ ในซอสจะมีส่วนประกอบของสมุนไพรอยู่ทำให้ไม่เลี่ยน



8.) ลาว - สลัดหลวงพระบาง (Luang Prabang Salad)



สลัดสุดอร่อยยอดนิยมพิเศษตรงที่จะเพิ่มผักน้ำ ซึ่งเป็นผักพื้นบ้านที่มีเฉพาะในประเทศลาวเท่านั้น ทานคู่กับไข่ต้มและหมูสับลวกสุก ราดด้วยสลัดน้ำใสพร้อมโรยหน้าด้วยกระเทียมเจียวและถั่วลิสงคั่ว

 

9.) มาเลเซีย - นาซิ เลอมัก (Nasi Lemak)



ข้าวที่หุงกับกะทิและใบเตย ทานพร้อมเครื่องเคียง 4 อย่าง คือ แตงกวาหั่น ถั่วอบ ไข่ต้มสุก และ ปลากะตักทอดกรอบ เมนูนี้หาทานได้ง่ายมาก ๆ แม้ในภาคใต้ไทยยังมีให้ลิ้มลองเลยค่ะ

 

10.) เวียดนาม - ปอเปี๊ยะเวียดนาม (Vietnamese Spring Rolls)



ความอร่อยของปอเปี๊ยะเวียดนามอยู่ที่แป้งที่ทำมาจากข้าวเจ้า แล้วนำมาห่อกับเนื้อสัตว์ที่ชอบห่อรวมกับผักสมุนไพรชนิดต่าง ๆ เช่น ผักกาดหอม สะระแหน่ ทานคู่กับน้ำจิ้มหวานทีมีแครอทซอย ไชเท้าซอย และถั่วคั่ว

 

11.) เกาหลี – กิมจิ (Kimchi)



กิมจิเป็นผักดองเค็มที่อาศัยภูมิปัญญาก้นครัวของชาวเกาหลี ด้วยการหมักพริกสีแดงและผักต่างๆ โดยทั่วไปจะเป็นผักกาดขาว ชาวเกาหลีนิยมรับประทานกิมจิเกือบทุกมื้อ และยังนำไปปรุงเป็นส่วนประกอบอาหารอีกหลายอย่าง เช่น ข้าวต้ม ข้าวสวย ซุป ข้าวผัด สตู บะหมี่ จนถึงพิซซาและเบอร์เกอร์ ปัจจุบันกิมจิมีมากกว่า 187 ชนิด ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะมีรสเผ็ด เปรี้ยว และมีกลิ่นฉุน

 

12.) ญี่ปุ่น – ซูชิ (Shuhi)



ข้าวปั้นหน้าต่างๆ ทำด้วยข้าวสวยผสมน้ำส้มสายชู ปั้นหรืออัดเป็นรูปสี่เหลี่ยม ใส่หน้าเนื้อสัตว์หรือผัก กินกับวาซาบิและซอสญี่ปุ่น.

 

13.) ฝรั่งเศศ – แบบบูร์กอญ (Boeuf Bourguignon)



สตูเนื้อที่นำไปเคียวกับไวน์แดงและส่วนผสมอื่นอีกมากมาย เช่น เห็ด หอมใหญ่ และเนื้อต่างๆ โดยส่วนใหญ่แล้วการทำสตูประเภทนี้ จะนำเนื้อมาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆและเคียวอย่างพิถีพิถัน ทำให้เนื้อไม่เหนียวและหอมกลิ่นไวน์แดง

 

14.) กรีก - มูซาก้า (moussaka)



เป็นอาหารที่ใครๆ อาจจะไม่คุ้นหูมากนักเพราะเป็นอาหารของทางกรีก แต่มีรสชาติเข้มข้นของซอสเนื้อและมีความหอมมันของชีสทำให้หลายคนติดตกติดใจกัน อาหารตัวนี้จะคล้ายกับลาซานญ่าของทางอิตาลีแต่มีความแตกต่างตรงที่จะใช้มะเขือยาวหรือมะเขือม่วงกับมันฝรั่งแทนแผ่นแป้งลาซานญ่าทำให้มีความหวานของผัก

 


15.) ฮังการี - กูลาช (GULASCH) 



สตูว์ที่ปรุงแบบเคี่ยวยาวนาน (Slow cook) เป็นสูตรอาหารพื้นบ้านของประเทศฮังการี่ ชื่อกูลาช ตั้งมาจากคำว่า Gulya ซึ่งแปลว่า คนเลี้ยงวัวในภาษาฮังกาเรี่ยน ส่วนใหญ่กูลาซปรุงด้วยสัตว์อย่างเนื้อวัว เนื้อหมู หรือเนื้อแกะ โดยเริ่มจากการหั่นเนื้อเป็นลูกเต๋านำไปคลุกเคล้ากับเกลือจากนั้นนำไปทอดกับหอมใหญ่เคี่ยวไฟอ่อน ๆ คลุกเคล้ากับเครื่องเทศและเติมน้ำซุปลงไปเคี่ยวไฟอ่อน จากนั้นปรุงรสเผ็ดด้วยปาปริก้าทั้งแบบสดและแบบป่นแล้วแต่สูตรเพิ่มความหอมมันด้วยครีม กูลาซรสเข้มข้นนิยมรับประทานคู่กับพาสต้า หากไปถึงฮังการีแล้วสั่งมาชิมด่วน

 

16.) สเปน - ปาเอญ่า (PAELLA)



ปาเอลย่า (Paella) เป็นอาหารหลักของสเปน มีต้นกำเนิดมาจาก València (วาเลนเซีย) เมืองชายทะเลฝั่งตะวันออก ของสเปน ปาเอลย่า เป็นเมนู ข้าวผัดที่นอกจากมี ข้าว และ ผัก เป็นส่วนประกอบหลักที่นำมาผัดกับเครื่องปรุงรสแบบสเปนแล้ว เรายังสามารถเลือกใส่เนื้อสัตว์ อื่นๆตามชอบใจได้อีก อาทิ อาหารทะเล เนื้อขาว เนื้อแดง หรือ ไส้กรอกต่างๆ เป็นต้น



17.) รัสเซีย - ซุปบอร์ช (BORSCHT)



ซุปบีทรูท Borscht. บอร์ชหรือซุปบีทรูทสไตล์รัสเซียนี้ เป็นจานคลาสสิคของอาหารรัสเซียเลยก็ว่าได้ ปรุงโดยใช้ผลบีทรูทเป็นหลักทำให้ซุปออกมามีสีแดงเข้ม ด้วยสีสันสดสวยที่ยั่วยวนชวนรับประทาน บวกกับรสชาติที่กลมกล่อม เน้นรสหวานของผัก ทานง่ายได้ประโยชน์ ทำให้กลายเป็นเมนูที่เหมาะกับคนทุกเพศทุกวัย อีกทั้งใครก็ตามที่ทานมังสวิรัติ

 

18.) แคนดา - ปูติน (POUTINE)



ปูติน (Poutine) เป็นอาหารอาหารขึ้นชื่อของแคนนาเดียนที่มีส่วนประกอบหลัก คือ มันฝรั่งทอด ราดด้วยเกรวี่ และชีสซอส สูตรนี้เพิ่มรสของเมเปิ้ลไซรัปซึ่งเป็นอีกหนึ่งส่วนประกอบขึ้นชื่อของแคนาดา


 

By ขนุน

ที่มา  SOURCE

สนใจแพคเกจท่องเที่ยว, ตั๋วเครื่องบินทั่วโลก หรือบัตรท่องเที่ยวต่างๆ สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ 02-2945598,  092-294 5598
หรือ คลิ๊ก https://www.itravelroom.com/

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้